วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว




วัน เดือน ปี
21 ส.ค. 23
เบอร์โทรติดต่อ
E-mail
raphipongton@gmail.com
088-4128886
ระดับการศึกษา
ระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านแม่ตะละ
ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนสะเมิงพิทยาคม
คติ
ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว แต่คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย
สิ่งที่ชอบ
ชอบถ่ายรูปและเดินทางไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ



                                                      ของขัวญที่มีค่าทีสุด



ของขวัญที่มีค่าที่สุดคือ….เวลา....  เพราะเวลาไม่สามารถหาซื้อได้ด้วยเงินแลกไม่ได้กับของมีค่าแก้วแหวนเงินทอง....ทุกอย่างเราไม่สามารถซื้อเวลาได้ ถ้าคุณกำลังหาของขวัญสักชิ้นให้เพื่อน ให้พ่อแม่ หรือ คนสำคัญของคุณลองเปลี่ยนของขวัญชิ้นนั้นมาเป็นช่วงเวลาดีๆ    แทนสิรับรองเป็นของขวัญที่คนรับต้องชอบที่สุดอย่างแน่นอนเวลาดีๆกับความทรงจำดีๆ ยอมมีความสำคัญมากกว่าสิ่งของ วันนี้คุณให้เวลากับตัวเอง แล้วหรือยังเวลาเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด สำหรับตัวเราเอง อย่ามัวแต่ให้เวลากับงาน กับคนอื่นมากกว่าที่จะให้เวลากับตัวเองเมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้ว่าเราให้เวลากับคนอื่นกับสิ่งอื่นมากเกินไปจะทำให้เราเครียดเราเหนื่อยเพราะเราลืมให้เวลาแก่ตัวเอง





















รู้จักบ้านดิน

                                                           

           รู้จักบ้านดิน









                                                                     รู้จักบ้านดิน

                บ้านดิน คือบ้านธรรมชาติ บ้านที่สามารถหาวัสดุจากรอบข้างนำมาสร้างเป็นบ้าน บ้านหนึ่งหลังอาจใข้ดินที่อยู่ข้างบ้านกับกับแรงกาย ค่อย ๆ ลงแรงสร้างจนกลายเป็นบ้านคุณภาพ โดยใช้ทุนเพียงเล็กน้อย

              บ้านดิน ต้องใช้แรงงานในการสร้างมาก ถึงแม้จะใช้ต้นทุนในการสร้างต่ำ บ้านดินจึงเหมาะสำหรับการลงแรงช่วยกันสร้าง อาจใช้เวลาว่างในช่วงวันหยุด มาช่วยกันสร้าง สร้างบ้านดิน 1 หลัง มีคุณค่ามากกว่าบ้าน 1 หลัง บ้านอาจจะหมายถึง มิตรภาพ, สุขภาพ, ความภูมิใจ ปลดปล่อยการเป็นทาสจากของเงินตราที่เราต้องถูกหลอกชั่วชีวิตให้ทำงานอย่าง หามรุ่งหามค่ำ บ้านดินใช้ทุนน้อย แต่คุณค่ามากมายจนไม่สามารถประเมินค่าได้

              บ้านดิน คือนิยามของความสุข หนึ่งชีวิตหากต้องการมีบ้านสักหลังหนึ่งอาจต้องใช้เวลาชั่วชีวิตเพื่อหาเงิน หรือใช้หนี้ ซึ่งแตกต่างจากการสร้างบ้านธรรมชาติหรือบ้านดินโดยสิ้นเชิง แค่แรงกายกับเงินอีกเพียงเล็กน้อย ในระยะเวลาไม่กี่เดือน เราสามารถมีบ้านเป็นของตนเองได้แล้ว

             บ้านดินที่พบเห็นมีวิธีการสร้างหลายเทคนิค ได้แก่
แบบปั้น (Cob) เป็นเทคนิคปั้นบ้านขึ้นเป็นหลังโดยใช้ดินเหนียวผสมกับฟางข้าว ปั้นขึ้นเรื่อย ๆ บ้านที่สร้างด้วยเทคนิคนี้ สามารถก่อฝาผนังได้สูงประมาณครั้งละ 1 ฟุต ต้องรอให้ดินแห้งสนิท ถึงจะปั้นก่อชั้นต่อไปได้ บ้านดินที่สร้างด้วยเทคนิคนี้จะมีความแข็งแรงมาก กว่าเทคนิคอื่น ๆ

            แบบอิฐดิบ (Adobe Brick) เทคนิคนี้ จะใช้วิธีนำดินมาผสมกับเส้นใย เช่น แกลบ เศษหญ้า หรืออาจะใช้ฟางข้าว นำมาผสมกับโคลน และปั้นเป็นอิฐดิน และนำมาก่อเป็นฝาผนังบ้าน โดยใช้โคลนเป็นตัวประสาน วิธีการสร้างบ้านด้วยเทคนิคนี้ง่าย สามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว มีความแข็งแรง เทคนิคนี้เป็นที่นิยมในเมืองไทย แต่อาจต้องใช้แรงงานมาก

          แบบโครงไม้(wattle&daub) เริ่มต้นทำโครงสร้างเป็นไม้สานกันเป็นตาราง และนำฟางชุบด้วยโคลนโป๊ะเป็นฝาผนัง การสร้างบ้านด้วยเทคนิคนี้ สามารถสร้างได้ง่าย ใช้แรงน้อย ถ้าทำฝาผนังให้หนา มีความแข็งแรง ไม่แพ้การก่อด้วยอิฐดิบ ข้อจำกัดในเรื่องของการฉาบ อาจจะต้องฉาบหลายครั้ง ถ้าต้องการให้ฝาผนังเรียบ แห้งช้าหากอยู่ในร่ม

          แบบใช้ดินอัด (rammed earth) เป็นการก่อสร้างฝาผนังโดยทำแบบพิมพ์ แล้วนำดินเหนียวอัด เป็นฝาผนัง เทคนิคนี้ ไม่ค่อยพบในเมืองไทย

          แบบใช้ท่อนไม้หรือหิน (cord wood or stones) เป็นการก่อสร้างฝาผนัง โดยการนำเศษไม้หรือหิน มาก่อเป็นฝาผนังบ้าน โดยใช้ดินเป็นตัวประสาน และทำการฉาบด้วยดินอีกชั้นหนึ่ง

         แบบกระสอบทราย (sand bag) เป็นการก่อสร้างบ้านโดยใช้กระสอบใส่ทรายให้เต็มและนำมาวางเรียง อาจจะใช้ลวดหนาม เป็นตัวช่วยยึดให้กระสอบไม่เลือนไหล และฉาบด้วยดินอีกครั้ง เทคนิคนี้ มีการใช้มากในพื้นที่ ที่เกิดสงครามหรือมีการอพยบ พื้นที่ไม่สามารถเข้าไปถึงได้โดยง่าย อาจมีการส่งกระสอบทรายโดยทางเครื่องบินและส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยแนะนำวิธี เพียง 1 - 2 คน ก็สามารถสร้างบ้านได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว หลังจากที่ทิ้งกระสอบทรายลงไป ใช้เป็นเพียง 2 - 3 วัน ก็จะมีบ้านเกิดขึ้นจำนวนมาก

แบบบ้านดิน



แบบบ้านดินสวยๆ


"บ้านดิน" สร้างเองก็ได้ง่ายจัง ไม่ต้องจ้างผู้รับเหมา ประหยัดเงินตรา และ ทรัพยากรธรรมชาติ
(ไม่ต้องระเบิดภูเขา เอาปูนซิเมนต์ หรือ ทำลายป่า ตัดต้นไม้เยอะ ๆ )
ฤดูร้อนเย็นสบาย ฤดูหนาวแสนอบอุ่น (บ้านดินสามารถปรับอากาศในตัวเองได้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องซื้อเครื่องปรับอากาศมาติดให้เปลืองค่าไฟฟ้า)หากบริเวณบ้านของท่านมีพื้นที่ว่าง ๆ ขอเชิญท่านมาลองสร้างบ้านดินหลังเล็ก ๆ สักหลังหนึ่ง ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทดสอบเนื้อดิน นำดินใส่ในแก้วสามในสี่ส่วน เติมน้ำให้ท่วมดิน ใส่เกลือ 1 ช้อนชาคนแล้วคอยให้ตกตะกอน เพื่อสังเกตดูชั้นต่าง ๆ ของเนื้อดิน แบ่งสัดส่วนของแก้วออกเป็น 10 ส่วน สิ่งที่หนักจะตกตะกอนก่อน จะได้ กรวดหิน - -> ทราย หยาบ - - > ทรายละเอียด - - > ดินเหนียว หากชั้นดินเหนียวได้สัดส่วน 2 ในส่วน 10 ส่วน ถือว่าดินนั้นสามารถนำมาสร้างบ้านได้ จากนั้นเติมน้ำลงในดินนวดให้เหนียว ลองปั้นเป็นเส้นกลม ๆ ขนาดนิ้วมือถ้าขาดแสดงว่าดินนั้นยังใช้ไม่ได้(ดินเหนียวเหมาะสำหรับการสร้าง บ้านดินที่สุด ซึ่งสามารถหาได้ทั่วไปในประเทศไทย)
2. หาสถานที่สำหรับเตรียมอิฐดิน ควรจะเลือกทำในบริเวณใกล้ ๆ กับพื้นที่ที่ต้องการสร้างบ้าน
เพราะจะลดกำลังในการขนย้ายซึ่งควรจะเป็นพื้นที่ที่พ้นจากน้ำท่วมถึง
3. การทำอิฐดินเตรียมกระบะสำหรับผสมดินเหยียบนวดดินให้เหนียวหากดินเหนียวมาก ๆ
ควรจะแช่น้ำทิ้งไว้หนึ่งคืนจะทำให้นวดง่ายขึ้น หากดินเหนียวมาก ๆ ให้ผสมแกลบหรือฟาง (หรือวัสดุใกล้เคียงที่หาได้ในพื้นที่) และทราย ในอัตราทีสังเกตว่าดินที่เหยียบจะไม่ติดเท้าขึ้นมาและเห็นเป็นรอยเท้าบน เนื้อดินถือว่าดินได้ที่แล้ว จากนั้นนำมาเทใส่พิมพ์ไม้ปาดให้เรียบและยกพิมพ์ขึ้นดินจะไม่ติดพิมพ์ในกรณี ที่แดดดี ตากทิ้งไว้ 1 วัน จากนั้นพลิกอิฐดินตั้งขึ้น จะทำให้ดินไม่ติดพื้นและแห้งเร็วขึ้น ตากทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่ออิฐดินแห้งแล้วจะมีคุณสมบัติเหมือนกับอิฐมอญที่ไว้ใช้ก่อสร้างบ้านทั่วไป ซึ่งขนาดดินที่เหมาะสมคือ หนา 4 นิ้ว กว้าง 8-10 นิ้ว ยาว 14 -16 นิ้ว (อิฐดิน 1 ก้อน = 15-20 กิโลกรัม)
4. เตรียมปูนสำหรับโบกอิฐดิน ซึ่งเป็นตัวดินชนิดเดียวกับที่นำมาทำอิฐดิน
5. หลังจากเลือกทำเลหนีน้ำแล้ว ต้องเทพื้นบ้านดินให้สูงพอสมควร หรืออาจสร้างเป็นบันไดสูงขั้นสองขั้น เพื่อหนีความชื้นที่ระเหยมาจากพื้นดิน และป้องกันปลวกใต้ดิน (อย่างไรก็ดีปลวกไม่กินดิน)
ซึ่งการเทฐานบ้านอาจใช้ปูนซิเมนต์เพื่อเพิ่มความแข็งแรง
6. บ้านดินไม่ต้องใช้เสาในการก่อสร้าง เพราะอิฐดินแต่ละก้อนถือว่าเป็นกำแพงของบ้านและเสาที่มั่นคงแข็งแรง หลังจากเทพื้นแล้ว เริ่มก่อสร้างกำแพงชั้นล่างขึ้นเป็นตัวบ้าน เว้นช่องใส่หน้าต่าง ประตู
ซึ่งอาจจะมีวงกบไม้หรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
7. กรณีบ้านสองชั้นต้องรอให้กำแพงดินชั้นล่างแข็งแรงดีแล้วนำไม้เนื้อแข็ง เช่น ยูคาลิปตัส ไม้ไผ่ ฯลฯ วางพาด นำไม้กระดานแผ่นใหญ่วางรองรับด้านล่าง เทดินให้ทั่ว ๆ ปกคลุมไม้ที่วางพาดเลย
8. ก่อสร้างหลังคา ชายคา ซึ่งอาจจะใช้ดินหรือวัสดุอื่น ๆ ก็ได้ ต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะน้ำเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดของบ้านดิน
9. ฉาบกำแพง เพดานให้พื้นเรียบหรือขรุขระตามชอบ
10. การใส่หน้าต่าง ประตู ต้องรอให้ดินแห้งสนิทเสียก่อน เพราะเมื่อดินแห้งจะหดตัวอีก หากใส่กระจกขณะที่ยังไม่แห้ง อาจทำให้กระจกแตกได้
11. ตกแต่งทาสี แนะนำว่าเป็นสีดิน (สีที่ได้จากดิน ซึ่งมีหลายสีด้วยกัน เช่น แดง เหลือง ม่วง เทา แตกต่างกันตามท้องถิ่น) ผสมกับทรายละเอียด เพิ่มความเนียนด้วยกาวแป้งเปียกหรือยางกล้วย (วัสดุอื่น ๆ ที่หาได้ในพื้นที่)
12. ตกแต่งภายในตามชอบสามารถปูพื้นด้วยกระเบื้องหรือปล่อยพื้นเปลือย ๆ เป็นศิลปะญี่ปุ่นก็สวยงามดี.
บ้านดินแบบต่างๆ



























สถานที่ท่องเที่ยว


บ้านดินหางดง ที่เชียงใหม่-ที่ไม่ธรรมดา           







ตามที่ได้พบเห็น ได้ดูมาหลายแหล่ง-หลายที่แล้ว สำหรับเรื่องราวของบ้านดิน

ด้วยความเห็นส่วนตัวนั้นก็ถือว่าชอบ ที่เป็นสิ่งสร้างจากธรรมชาติ-ธรรมดาๆ

อยู่แล้วน่าจะเย็นสบายดี เป็นมุมหนึ่งของชีวิตทางเลือกของมนุษย์ชาติ

แต่ปัญหาก็คือต้องมีความสามารถลงมือก่อสร้างด้วยตนเอง..นี่ซิครับ
คนไม่มีฝีมือช่างมันจะเป็นรูปเป็นร่าง หรือมีมุมมองที่เกิดความสวยงาม
เกิดความพึงพอใจได้อย่างไร....




ผ่านไปมาหลายครั้งย่านถนนริมคลองชลประทานสายเชียงใหม่-หางดง 
เหลือบริมทางขวามือจะเห็นกลุ่มสร้างบ้านดินไว้หลายหลัง ในบริเวณที่สวยงามริมทาง
แรกๆยังนึกในใจว่าเป็นรีสอร์ทใหม่ที่เป็นบ้านดินมั้งครับ..วันนี้ก็เลยเลี้ยวเข้าไปเที่ยวชม
ก็ได้รับการต้อนรับด้วยดีจากผู้ดูแลสถานที่ แล้วพาไปชมบ้านหลังแรกด้านใน
ที่มีรั้วและชุ้มประตูด้านหน้าแบ่งบอกอาณาเขตที่ดินเหมือนบ้านสมัยเก่าๆ
เมื่อเดินเข้าไปก็จะพบบ้านดินหลังนี้แหละครับที่สร้างขึ้นด้วยโครงไม้ไผ่
ยกแคร่ไม้ไผ่ รวมทั้งโครงหลังคาไม้ไผ่ มุงด้วยใบตองตึงแบบชาวบ้าน...







ในตัวเรือนก็ตกแต่งผนัง แคร่ หน้าต่าง โต๊ะ-ม้านั่งด้วยไม้ไผ่ทั้งสิ้น เห็นแล้วบอกได้เลยครับ..

"ว่าไม่ใช่บ้านดินธรรมดา"แต่ได้รับการออกแบบ ก่อสร้างวางผัง ให้เกิดความเด่น สวยงาม

ในบริเวณบ้านที่มีสระน้ำอยู่ด้านใน ถัดออกมามีศาลาท่าน้ำเอนกประสงค์ที่ออกแบบ
ไว้ด้วยดีไชน์ดีมีหลักการทางวิศวกรรมโครงสร้างที่นับว่าแปลกตามากครับ









โดยรอบสระน้ำก็จะมีเรือนที่เป็นบ้านดิน โครงไม้ไผ่อีกสองสามหลัง เรือนเล็กด้านใน
และเรือนใหญ่ด้านหน้าทางเข้า ซึ่งสร้างไว้เป็นเรือนต้อนรับ และ สำนักงาน
เมื่อดูโดยละเอียดแต่ละด้านนั้น นับว่าเป็นศิลปกรรมที่สร้างขึ้นมามีรูปแบบพิเศษ
มีความวิจิตรสวยงาม






เมื่อเข้าไปชมห้องรับรอง-ห้องทำงานบ้านดินหลังนี้แล้ว ก็จะเห็นความพอดีที่พร้อมสมบูรณ์

เรียบง่ายใช้วัสดุที่เป็นธรรมชาติหลักคือดินปั้น และ ไม้ไผ่ สร้างสรรได้ลงตัวเป็นเอกลักษณ์







สงบเรียบง่าย แต่ไม่ธรรมดา เพราะได้มีการออกแบบ ดีไซน์ตามหลักสถาปัตยกรรม

ต้องมีศาสตร์ มีศิลป์ในการสร้างรูปแบบอาคาร ได้เด่นและสวยงาม
นอกเหนือไปจากบ้านดินแล้ว เจ้าของแห่งนี้ยังได้ดำเนินงานสร้างโรงเรียน
อาคารเรียนเป็นแบบบ้านดิน เปิดรับสอนนักเรียนตามรูปแบบการศึกษาใหม่ด้วย





อาคารสนามเด็กเล่น ห้องเรียน ศาลาประชุม-และโรงอาหาร ห้องน้ำ-ส้วม

เป็นอาคารเรียนชั้นเดียว อยู่กลางธรรมชาติ และอากาศถ่ายเทได้เป็นอย่างดี

ไม่ต้องใช้แอร์คอนดิชั่น อุปกรณ์การเรียน-การสอนที่เน้นวัสดุจากธรรมชาติ





บรรยากาศ ที่นี่ สะเมิงบ้านดิน ยามเย็น








ที่มา

http://www.oknation.net/blog/cm-arabica/2012/09/18/entry-1
http://baandin.at-samoeng.com/tag/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%ที่มาhttp://www.oknation.net/blog/cm-arabica/2012/09/18/entry-188-%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99/